Cute Ghost

หัว

Welcome to Thai language blog =)

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หัวใจชายหนุ่ม

ประวัติผู้แต่งเรื่องหัวใจชายหนุ่ม
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.. ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าองค์ที่ ๒ ในจำนวน ๙ พระองค์ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.. ๒๔๒๓ ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ
. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัยกรมพระเทพนารีรัตน์(..๒๔๒๑-๒๔๓0)
. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (..๒๔๒๓-๒๔๖๘)
. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (..๒๔๒๔-๒๔๓0)
. จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (..๒๔๒๕-๒๔๖๓)
. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (.. ๒๔๒๘-๒๔๓0)
. พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (..๒๔๓๒-๒๔๖๗)
. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (..๒๔๓๕-๒๔๖๖)
. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (..๒๔๓๖-๒๔๘๔)
เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.. ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม ๑๖ ปี ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาลในเรื่องหัวใจชายหนุ่มนี้ พระองค์ได้ใช้พระนามแฝงว่ารามจิตติได้ลงพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตรายเดือนเมื่อ พ.. ๒๔๖๔ และ พ.. ๒๕๑๕ ได้รับยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหชาติให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ของนักปราชญ์ของไทย

เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์
- เป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชการที่ ๖ ทรงใช้นามปากกาว่ารามจิตติ
- ทรงเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม คือ สมเด็จพระเข้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
- ทรงได้รับนามสามัญว่าพระมหาธีระราชเจ้าแปลว่า นักปราชญ์
ผู้ยิ่งใหญ่
- ทรงคัดเลือกจดหมายฉบับที่น่าอ่าน ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์

ด้านการศึกษา
- ได้ ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในระดับอุดมศึกษา เมื่อปี พ..๒๔๕๙ ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
- ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย

ด้านการเศรษฐกิจ
- ได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินพุทธศักราช ๒๔๕๖ ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทรงริเริ่มก่อตั้ง
- บริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น

ด้านการคมนาคม
- ได้ทรงปรับปรุงและขยายงานกิจการรถไฟ เริ่มตั้งแต่ ปี พ.. ๒๔๖๐ ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ สายใต้จากธนบุรีถึงไปเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม ๖ เพี่อเชื่อมทางรถไฟในพระราชอาณาจักร
ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
- ทรง โปรดศิลปะการแสดงโขน ละคร จึงได้ทรงตั้งกรมมหรสพ ขึ้นเพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไท และยังได้ทรงสร้างโรงละครหลวงไว้ในพระราชวังทุกแห่ง นอกจากนี้ ยังทรงสนพระราชหฤทัยด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรมไทย
ด้านการต่างประเทศ
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราช-โองการ ประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายเยอรมัน ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรีย ฮังการี บัลกาเรีย และตุรกี ซึ่งเป็นกลุ่มมหาอำนาจกลาง โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียเป็นผู้นำ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฏาคม พ..๒๔๖๐ พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย ผลของสงครามประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คือ สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และสนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของประเทศไทย
ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
- ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และวชิรพยาบาลและได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดสถานเสาวภาเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ..๒๔๖๕ และทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๔๕๗
ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ
- ได้ทรงจัดตั้ง กองเสือป่า ขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.. ๒๔๕๔ และทรงจัดตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงคือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน
ด้านการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตย
- ทรงได้ศึกษาวิชาการปกครองระบอบนี้มาจากประเทศอังกฤษ ได้ทรงทดลองตั้ง เมืองมัง หลังพระตำหนักจิตรลดาเดิม ทรงจัดให้เมืองมัง มีระบอบการปกครองของตนเอง ตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงเมืองจำลอง ดุสิตธานี ในพระราชวังดุสิต ซึ่งต่อมาทรงย้ายไปพระราชวังพญาไท
ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์
- ได้ ทรงเริ่มงานประพันธ์ตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ พระราชนิพนธ์ของพระองค์มีทุกประเภท ตั้งแต่ โขน ละคร พระราชดำรัส พระบรมราชานุศาสนีย์ เทศนาปลุกใจเสือป่า นิทาน มีทั้งภาษาไทย อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเต็มไปด้วย ข้อคิดและคำคม วรรณกรรมของพระองค์ท่านจะสอนให้รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ทรงส่งเสริมให้มีการแต่งหนังสือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร พระราชนิพนธ์ที่ได้รับการพิจารณายกย่อง คือ หัวใจนักรบ ด้านละครพูด มัทนะพาธาด้านคำฉันท์และพระนลคำหลวง ด้านกวีนิพนธ์ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ก็ ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ท่านในฐานะที่ทรงเป็นทั้ง นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละคร ได้ทรงเป็นปราชญ์สยามคนที่ ๕ ประชาชนได้ถวายพระราชสมัญญานามว่าสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า สำหรับด้านงานหนังสือพิมพ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตรา พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร พ.. ๒๔๖๕ ขึ้น

ตัวชี้วัด



ตัวชี้วัด
๑. อ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรองให้ถูกต้อง และเหมาะสม
๒. ตีความแปลความและขยายความที่อ่าน
๓. วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่าน
๔. ประเมินค่าเรื่องที่อ่านและนำมาใช้ในชีวิตจริง
๕. แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง และแสดงความคิดเห็นใหม่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
๖. ตอบคำถามเรื่องที่อ่าน
๗. มีมารยาทในการอ่าน
๘. เขียนสื่อสารได้ถูกต้อง ตามรูปแบบและใช้ภาษาได้ถูกต้อง
๙. เขียนเรียงความได้
๑๐. เขียนย่อความได้
๑๑. ประเมินงานเขียนของผู้อื่นและนำมาพัฒนางานเขียนของตน
๑๒. ผลิตงานเขียนของตนเอง ในรูปแบบต่างๆ
๑๓. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการ และใช้ข้อมูลสารสนเทศอ้างอิงได้ถูกต้อง
๑๔. บันทึกการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปพัฒนาตนเองได้
๑๕. มีมารยาทในการเขียน
๑๖. ประเมินเรื่องที่ฟังและดูแล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง
๑๗. มีวิจารณญาณในที่เลือกและดู
๑๘. มีมารยาทในการฟังและการดูและการพูด
๑๙. พูดในโอกาสต่างๆ
๒๐. แต่งบทร้อยกรองได้ถูกต้องและเหมาะสม
๒๑. วิเคราะห์ทัศนะของภาษาต่างประเทศได้
๒๒. อธิบายวิเคราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทยได้
๒๓. วิเคราะห์ประเมินการใช้ สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
๒๔. วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีวรรณกรรมหลักตามวิจารญาณเบื้องต้นได้
๒๕. วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงการเรียนรู้ต่อประวัติศาสตร์
๒๖. ประเมินคุณค่าด้านวัฒนธรรมได้
๒๗. สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีวรรณกรรมและนำไปประยุกต์ใช้จริงได้
๒๘. ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานที่มีคุณค่าและนำไปใช้อ้างอิงได้

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติพ่อขุนรามคำแหง




   พ่อขุนรามคำแหง

         พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสของ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระมเหสีคือ พระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์ พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมี พระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ปี  ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด   พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ จึงพระราชทานนามว่า "พระรามคำแหง" เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์   และพ่อขุนบานเมืองแล้ว   พระองค์ได้ครองกรุงสุโขทัย ต่อมาเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงสันนิษฐานว่าพระองค์ สิ้นพระชนม์ในราวปี พ..๑๘๖๐ รวมเวลาที่ทรงครองราชย์ประมาณ ๔๐ ปี

  พระเจ้ารามคำแหงมหาราช
        
เมื่อแรกตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น  อาณาเขตยังไม่กว้างขวางเท่าใดนัก  เขตแดนทางทิศใต้จดเพียงเมืองปากน้ำโพ ใต้จากปากน้ำโพลงมายังคงเป็นอาณาเขตของขอมอันได้แก่เมืองละโว้  ทางฝ่ายตะวันตกจดเพียงเขาบันทัด ทางเหนือมีเขตแดนติดต่อกับประเทศลานนาที่ภูเขาเขื่อน   ส่วนทางตะวันออกก็จดอยู่เพียงเขาบันทัดที่กั้นแม่น้ำสักกับแม่น้ำน่าน
  อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ทรงครองราชย์อยู่นั้น       พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ก็ได้กระทำสงครามเพื่อขยายเขตแดนของไทยออกไปอีกในทาง โอกาสที่เหมาะสม ดังที่มีข้อความปรากฏอยู่ในศิลาจารึกว่า พระองค์ได้เสด็จยกกองทัพไปดีเมืองฉอด  ได้ทำการรบ พุ่งตลุมบอนกันเป็นสามารถถึงขนาดที่พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเข้าเมืองฉอด แต่พระองค์เสียทีแก่ขุนสามชน แลในครั้งนี้เองที่เจ้ารามราชโอรสองค์เล็กของพระองค์ได้เริ่มมีบทบาทสำคัญ ด้วยการที่ทรงถลันเข้าช่วยโดยไสช้างทรงเข้าแก้พระราชบิดาไว้ทันท่วงที แล้วยังได้รบพุ่งตีทัพขุนสามชนเข้าเมืองฉอดแตกพ่ายกระจายไป
        พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ พระราชบิดาจึงถวายพระนามโอรสองค์เล็กนี้ว่า     “เจ้ารามคำแหง  พระเจ้าศรีอินทราทิตย์  ทรงครองอาณาจักรสุโขทัยอยู่จนถึงประมาณปี  1881  จึงเสด็จสวรรคต  พระองค์มีพระโอรสพระองค์ด้วยกัน โอรสองค์ใหญ่พระนามไม่ปรากฎเพราะได้สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่เยาว์วัย  องค์กลางทรงพระนามว่า ขุนบาลเมือง  องค์เล็กทรงพระนามว่า เจ้าราม และต่อมาได้รับพระราชทานใหม่ว่า เจ้ารามคำแหง
หลังจากตีทัพขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดแตกพ่ายไป        เมื่อพระเจ้าศรีอินทราทิตย์เสด็จสวรรคตแล้วโอรสองค์กลางขุนบาลเมือง ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมาอีกประมาณ  9  ปี    ก็เสด็จสวรรคต  พระราชอนุชา คือ     เจ้ารามคำแหง      จึงได้เสวยราชย์สืบต่อมา ทรงพระนามว่า พระเจ้ารามคำแหง
        พระเจ้ารามคำแหง   จะมีพระนามเดิมว่าอย่างไรไม่ปรากฏชัดแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้ทรงสันนิษฐานว่า คงจะเรียกกันว่า เจ้าราม แลเมื่อเจ้ารามมีพระชนมายุได้ 19 ชร รษา ได้ตามสมเด็จพระราชบิดาไปทำศึกกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดและได้ทรงแสดงความ เก่งกล้าในทาสไสช้างทรงเข้าแก้เอาพระราชบิดาไว้ได้ทั้งตีทัพขุนสามชนแตกพ่าย ไปแล้วพระราชบิดาจึงถวายพระนามเสียใหม่ว่า    “เจ้ารามคำแหง

        พระ เจ้ารามคำแหง ทรงเป็นมหาราชองค์ที่สองของชาวไทย และทรงเป็นมหาราชพระองค์เดียวในสมัยสุโขทัย พระองค์ทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์ทรงชำนาญทั้งในด้านการรบ การปกครอง และการศาสนา  พระองค์ทรงขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไป ได้กว้างใหญ่ไพศาลด้วยวิเทโศบายอันแยบยลสุขุมคัมภีรภาพทั้งทรงปกครองไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินด้วยความยุติธรรมได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า  

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วรรณคดีสโมสร


วรรณคดีสโมสร  จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร พ.ศ. 2457 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ได้สาระประโยชน์ โดยคัดเลือกหนังสือดีที่เป็นตัวอย่างชั้นเลิศในการประพันธ์ประเภทต่างๆ ซึ่งต้องเป็นหนังสือดีและแต่งดี วรรณคดีสโมสรจึงจะรับไว้พิจารณา หนังสือที่พิจารณาจัดไว้ทั้งสิ้น 5 ประเภท

พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชกฤษฎีกา ตั้งวรรณคดีสโมสร ขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย และได้สาระประโยชน์ เนื่องจากในยุคนั้นการแต่งหนังสือมักเลียนแบบการแต่งหนังสือภาษาต่างประเทศ ทำให้หลักไวยากรณ์ผิดเพี้ยนไป คำว่า "วรรณคดี" ก็ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกพร้อมกับพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพื่อให้มีความหมายสอดคล้องกับคำว่า "literature" ในภาษาอังกฤษ

คณะ กรรมการของวรรณคดีสโมสรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทรงแต่งตั้งขึ้นทำหน้าที่คัด เลือกหนังสือดี หนังสือที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับพระราชทานรางวัล และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประทับตราพระราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ นับเป็นการมอบรางวัลทางวรรณกรรมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย

ตามพระราชกฤษฎีกา ได้แบ่งประเภทของหนังสือไว้ 5 ประเภทดังนี้

1.     กวีนิพนธ์ คือ งานประพันธ์โคลง กลอน กาพย์ ฉันท์

2.    ละครไทย คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็นกลอนแปด

3.    นิทาน คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็นร้อยแก้ว

4.    ละครพูด คือ เนื้อเรื่องที่เขียนขึ้นสำหรับแสดงบนเวที

5.    ความอธิบาย คือ การแสดงศิลปะด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ที่ไม่ใช่แบบเรียน ตำรา หนังสือโบราณคดี หรือพงศาวดาร

วรรณคดีสโมสร ยุติบทบาทลงในปี พ.ศ. 2468 แต่หลังจากนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงก่อตั้ง "สมาคมวรรณคดี" ขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2474 และยังใช้มาตรฐานเดิมในการพิจารณาวินิจฉัย หนังสือกลอนลิลิตอยู่